- PUMP
- FIRE PUMP
- ECECTRIC MOTOR
บริการด้านงานออกแบบ ตกแต่งภายใน
เว็บไซต์จัดทำขึ้นเพื่อเป็นตัวอย่างการให้บริการในธุรกิจปั้มน้ำ มอเตอร์ ไม่มีการดำเนินการจริงแต่อย่างใด ข้อความ และรูปภาพต่างๆ นำมาจากใน internet และได้อ้างอิงถึงเนื้อหาไว้เรียบร้อยแล้ว และขอบคุณสำหรับรูปภาพ และเนื้อหาบทความต่างๆ
รีวิวลูกค้าจริง K-PUMPMOTOR
ขอขอบคุณลูกค้าทุกท่านที่รีวิวให้ ทางเราจะพัฒนาการให้บริการดียิ่งขึ้นค่ะ
จำหน่ายปั้ม มอเตอร์ คุณภาพดี ราคามาตรฐาน มีบริการดูแลหลังการขาย
เราเป็นผู้เชี่ยวชาญจำหน่าย ติดตั้ง และการบำรุงรักษาปั้มน้ำ ปั้มดับเพลิง มอเตอร์ หากสนใจสินค้าของเรา เรามีทีมงานพร้อมให้บริการ ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษาในตัวสินค้าตลอดอายุการใช้งาน สินค้าทุกชิ้น มีการรับประกัน มีคุณภาพสูงตามมาตรฐาน ปรหยัดพลังงาน ใช้ไฟฟ้าน้อย จัดส่งสินค้าให้ฟรี
-
วิธีเช็กน้ำรั่วซึมจากท่อประปาด้วยตนเอง
-
แชร์ไอเดีย ติดตั้งปั๊มน้ำแบบแขวน ทำง่าย ประหย...
-
แก้ปัญหาที่ต้นตอ เลือกปั๊มน้ำอย่างไรให้น้ำไหล...
วิธีเช็กน้ำรั่วซึมจากท่อประปาด้วยตนเอง
น้ำรั่วซึมเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องดูแล เพราะไม่เพียงส่งผลให้ตัวเลขบิลค่าน้ำสูงขึ้น แต่ยังทำให้บ้านเกิดน้ำนองหรือท่วมขังที่ส่งผลให้บ้านเกิดเชื้อราและผุพังได้เร็วขึ้น โดยหนึ่งในปัญหาน้ำรั่วซึมที่มักพบบ่อยนั้นมาจากท่อประปา มาเตรียมตัวรับมือกับปัญหานี้ได้ด้วยการรู้วิธีตรวจสอบท่อประปารั่วกัน
สังเกต 6 สัญญาณน้ำรั่วซึม
1. บิลค่าน้ำเพิ่มสูงขึ้นทั้งที่ไม่ได้ใช้น้ำมากกว่าปกติ เมื่อเกิดน้ำรั่วซึม ย่อมเกิดน้ำไหลอยู่ตลอด ดังนั้นตัวเลขแสดงปริมาณน้ำประปาจะยังคงเดินอยู่แม้จะไม่ได้มีการใช้น้ำ
2. มีน้ำเปียกที่พื้นอยู่เสมอหรือมีตะไคร่น้ำขึ้น เมื่อมีจุดแตกรั่ว น้ำจะไหลหรือซึมออกมาที่พื้นอยู่เสมอ และยิ่งนานวันความชื้นก็จะทำให้เกิดตะไคร่จับได้
3. มีน้ำเปียกหรือหยดจากเพดานหรือผนังอยู่เสมอ เช่นกัน น้ำจะไหลออกจากจุดรั่ว ทำให้เพดานเปียกและหยดออกมาตามช่องระหว่างฝ้าได้
4. น้ำจากก๊อกน้ำไหลอ่อนลง เมื่อเกิดท่อประปาแตกในบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดที่แตกมีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งทำให้น้ำรั่วไหลออกมาก ปริมาณน้ำที่จะส่งไปถึงก๊อกน้ำก็จะน้อยลง น้ำประปาจึงไหลอ่อนลง
5. มีเสียงเครื่องปั๊มน้ำทำงานแม้จะไม่ได้ใช้น้ำ น้ำที่รั่วไหลออก จะทำให้น้ำในถังพักน้ำของเครื่องปั๊มน้ำน้อยลง เครื่องปั๊มน้ำจึงต้องปั๊มน้ำเข้ามาเก็บให้เต็ม ยิ่งถ้ารั่วมาก ก็จะยิ่งมีปริมาณน้ำไหลทิ้งมากขึ้น เราจะก็จะได้ยินเสียงเครื่องปั๊มน้ำทำงานถี่ขึ้น
6. มีจุดที่พื้นทรุดตัวต่ำกว่าบริเวณอื่น เมื่อเกิดน้ำรั่วซึมเป็นระยะเวลานาน ก็จะทำให้ดินในบริเวณโดยรอบเปียกและเกิดการอ่อนตัวจนส่งผลให้พื้นบริเวณนั้นทรุดตัวลงได้
เช็กว่าน้ำรั่วซึมจากท่อประปาใช่หรือไม่
1. ปิดก๊อกน้ำทั้งหมดและดูที่มิเตอร์หรือมาตรวัดน้ำ หากตัวเลขที่หน้าปัดมิเตอร์น้ำยังคงเดินอยู่ แปลว่า มีน้ำรั่วซึมในบ้าน
2. ตรวจดูก๊อกน้ำ ฝักบัว เครื่องซักผ้า และเครื่องใช้ที่ต่อท่อกับน้ำ เพราะน้ำรั่วนั้นอาจเกิดจากส่วนนี้ได้ ส่วนวิธีแก้ไขนั้น ถ้ารั่วที่ก๊อกน้ำหรือฝักบัว ให้เปลี่ยนก๊อกน้ำหรือฝักบัว แต่ถ้าเป็นเครื่องซักผ้าและเครื่องใช้อื่น ๆ ให้เรียกช่างเฉพาะทางมาซ่อมแซม
3. สำหรับชักโครก ให้ตรวจดูโดยใส่สีย้อมผ้าลงในถังพักน้ำ ถ้าพบสีไหลลงในชักโครก แสดงว่า มีน้ำรั่วเกิดขึ้น
ถ้าตรวจสอบดูแล้วไม่พบจุดรั่ว สันนิษฐานได้ว่า สาเหตุที่มีน้ำประปารั่วในบ้านนั้นน่าจะเกิดจากท่อประปาร้าวหรือแตก และให้เช็กหาจุดรั่วที่ท่อประปา
เช็กหาจุดรั่วตามบริเวณท่อประปา
ให้เช็กท่อประปารั่วในบ้านทีละจุด เพื่อความมั่นใจว่าจะพบจุดรั่วทั้งหมด โดยใช้วิธีปิดวาล์วเช็กทีละส่วนของบ้าน โดยเริ่มจากการปิดวาล์วจ่ายน้ำที่ชั้นบนก่อน แล้วค่อยสลับไปเปิดวาล์วจ่ายน้ำชั้นล่าง ถ้าแต่ละชั้นมีวาล์วจ่ายน้ำหลายจุด ให้ปิดทั้งหมดและเปิดวาล์วทีละจุด
วิธีนี้จะช่วยให้ระบุหาจุดรั่วได้ง่ายขึ้น และเมื่อเปิดเช็กทีละวาล์ว ให้ดูที่มิเตอร์ว่า ตัวเลขวัดปริมาณการใช้น้ำยังคงเดินอยู่หรือไม่ ถ้ายังเดินอยู่ ให้เดินหาจุดรั่วของท่อประปาบนพื้น แต่สำหรับท่อประปาที่ซ่อนใต้พื้น ผนัง และเพดานนั้น ให้ตรวจสอบตามวิธีด้านล่าง
เช็กท่อประปารั่วใต้ดิน
ให้เดินตรวจดูทั้งบริเวณภายนอกและภายในบ้านว่า มีน้ำรั่วซึมหรือขังที่พื้นบ้านและสนามหญ้าอยู่ตลอดเวลาหรือไม่ ถ้ามี แสดงว่า อาจมีท่อประปารั่วใต้พื้นบ้าน ซึ่งถ้าจริง จะต้องตามช่างประปามาตรวจสอบและซ่อมแซมจุดรั่วโดยอาจถึงขั้นต้องรื้อพื้นได้
เช็กท่อประปารั่วในผนัง
ให้เดินตรวจดูว่า มีจุดน้ำหยดหรือซึมเปียกที่บริเวณกำแพงหรือบริเวณพื้นที่ติดกับกำแพงหรือไม่ ถ้ามี อาจเป็นไปได้ว่าท่อประปาที่พื้นหรือผนังรั่ว ซึ่งหากท่อประปาที่ผนังเป็นแบบซ่อน อาจหาจุดรั่วซึมที่ชัดเจนเองได้ยากและต้องให้ช่างผู้ชำนาญช่วยดูแลและซ่อมแซม เพราะต้องใช้ความชำนาญและอุปกรณ์ช่วย
เช็กท่อประปารั่วในเพดาน
มีขั้นตอนดังนี้
1. เปิดช่องเซอร์วิสหรือช่องที่สำหรับเปิดเข้าไปในเพดาน แต่ถ้าเป็นบ้านเก่า อาจไม่มีช่องนี้ จะต้องให้ช่างประปารื้อฝ้าเพดานออก เพื่อตรวจหาจุดที่น้ำประปารั่ว
2. ตรวจสอบจุดท่อประปารั่วตามข้อต่อและสายท่อได้ไม่ยาก เพียงนำทิชชู่ไปพันบริเวณที่คาดว่าจะเป็นจุดรั่ว ซึ่งมักเป็นบริเวณข้อต่อ และลองใช้น้ำ เช่น เปิดฝักบัว เปิดก๊อกน้ำ หรือกดชักโครก แล้วปล่อยไว้ 15-30 นาที ถ้ามีน้ำรั่วซึม ทิชชู่ก็จะเปียก
การตรวจสอบการรั่วไหลเป็นไปได้ง่ายหากวางท่อประปาแบบเดินลอย คือ วางบนพื้นดิน อย่างไรก็ตาม บ้านส่วนใหญ่นิยมซ่อนท่อประปาไว้ในผนังและพื้นดินเพื่อความสวยงาม จึงไม่ง่ายต่อการตรวจสอบและซ่อมแซม แต่เราก็สามารถตรวจสอบหาจุดน้ำรั่วเบื้องต้นเองได้ไม่ยาก
โดยดูแปลนการวางท่อน้ำประปา แล้วเช็กตามตำแหน่งจุดวางท่อ ข้อต่อ และวาล์ว สำหรับใครที่กำลังจะซื้อบ้านใหม่หรือรีโนเวทบ้าน มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ การเลือกซื้อบ้าน และการปรับปรุงบ้านเพื่อบ้านที่น่าอยู่และห่างไกลปัญหาน้ำรั่ว
อ้างอิงเนื้อหาจาก https://www.sanook.com/home/23935/
22 ก.พ. 2567
สังเกต 6 สัญญาณน้ำรั่วซึม
1. บิลค่าน้ำเพิ่มสูงขึ้นทั้งที่ไม่ได้ใช้น้ำมากกว่าปกติ เมื่อเกิดน้ำรั่วซึม ย่อมเกิดน้ำไหลอยู่ตลอด ดังนั้นตัวเลขแสดงปริมาณน้ำประปาจะยังคงเดินอยู่แม้จะไม่ได้มีการใช้น้ำ
2. มีน้ำเปียกที่พื้นอยู่เสมอหรือมีตะไคร่น้ำขึ้น เมื่อมีจุดแตกรั่ว น้ำจะไหลหรือซึมออกมาที่พื้นอยู่เสมอ และยิ่งนานวันความชื้นก็จะทำให้เกิดตะไคร่จับได้
3. มีน้ำเปียกหรือหยดจากเพดานหรือผนังอยู่เสมอ เช่นกัน น้ำจะไหลออกจากจุดรั่ว ทำให้เพดานเปียกและหยดออกมาตามช่องระหว่างฝ้าได้
4. น้ำจากก๊อกน้ำไหลอ่อนลง เมื่อเกิดท่อประปาแตกในบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดที่แตกมีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งทำให้น้ำรั่วไหลออกมาก ปริมาณน้ำที่จะส่งไปถึงก๊อกน้ำก็จะน้อยลง น้ำประปาจึงไหลอ่อนลง
5. มีเสียงเครื่องปั๊มน้ำทำงานแม้จะไม่ได้ใช้น้ำ น้ำที่รั่วไหลออก จะทำให้น้ำในถังพักน้ำของเครื่องปั๊มน้ำน้อยลง เครื่องปั๊มน้ำจึงต้องปั๊มน้ำเข้ามาเก็บให้เต็ม ยิ่งถ้ารั่วมาก ก็จะยิ่งมีปริมาณน้ำไหลทิ้งมากขึ้น เราจะก็จะได้ยินเสียงเครื่องปั๊มน้ำทำงานถี่ขึ้น
6. มีจุดที่พื้นทรุดตัวต่ำกว่าบริเวณอื่น เมื่อเกิดน้ำรั่วซึมเป็นระยะเวลานาน ก็จะทำให้ดินในบริเวณโดยรอบเปียกและเกิดการอ่อนตัวจนส่งผลให้พื้นบริเวณนั้นทรุดตัวลงได้
เช็กว่าน้ำรั่วซึมจากท่อประปาใช่หรือไม่
1. ปิดก๊อกน้ำทั้งหมดและดูที่มิเตอร์หรือมาตรวัดน้ำ หากตัวเลขที่หน้าปัดมิเตอร์น้ำยังคงเดินอยู่ แปลว่า มีน้ำรั่วซึมในบ้าน
2. ตรวจดูก๊อกน้ำ ฝักบัว เครื่องซักผ้า และเครื่องใช้ที่ต่อท่อกับน้ำ เพราะน้ำรั่วนั้นอาจเกิดจากส่วนนี้ได้ ส่วนวิธีแก้ไขนั้น ถ้ารั่วที่ก๊อกน้ำหรือฝักบัว ให้เปลี่ยนก๊อกน้ำหรือฝักบัว แต่ถ้าเป็นเครื่องซักผ้าและเครื่องใช้อื่น ๆ ให้เรียกช่างเฉพาะทางมาซ่อมแซม
3. สำหรับชักโครก ให้ตรวจดูโดยใส่สีย้อมผ้าลงในถังพักน้ำ ถ้าพบสีไหลลงในชักโครก แสดงว่า มีน้ำรั่วเกิดขึ้น
ถ้าตรวจสอบดูแล้วไม่พบจุดรั่ว สันนิษฐานได้ว่า สาเหตุที่มีน้ำประปารั่วในบ้านนั้นน่าจะเกิดจากท่อประปาร้าวหรือแตก และให้เช็กหาจุดรั่วที่ท่อประปา
เช็กหาจุดรั่วตามบริเวณท่อประปา
ให้เช็กท่อประปารั่วในบ้านทีละจุด เพื่อความมั่นใจว่าจะพบจุดรั่วทั้งหมด โดยใช้วิธีปิดวาล์วเช็กทีละส่วนของบ้าน โดยเริ่มจากการปิดวาล์วจ่ายน้ำที่ชั้นบนก่อน แล้วค่อยสลับไปเปิดวาล์วจ่ายน้ำชั้นล่าง ถ้าแต่ละชั้นมีวาล์วจ่ายน้ำหลายจุด ให้ปิดทั้งหมดและเปิดวาล์วทีละจุด
วิธีนี้จะช่วยให้ระบุหาจุดรั่วได้ง่ายขึ้น และเมื่อเปิดเช็กทีละวาล์ว ให้ดูที่มิเตอร์ว่า ตัวเลขวัดปริมาณการใช้น้ำยังคงเดินอยู่หรือไม่ ถ้ายังเดินอยู่ ให้เดินหาจุดรั่วของท่อประปาบนพื้น แต่สำหรับท่อประปาที่ซ่อนใต้พื้น ผนัง และเพดานนั้น ให้ตรวจสอบตามวิธีด้านล่าง
เช็กท่อประปารั่วใต้ดิน
ให้เดินตรวจดูทั้งบริเวณภายนอกและภายในบ้านว่า มีน้ำรั่วซึมหรือขังที่พื้นบ้านและสนามหญ้าอยู่ตลอดเวลาหรือไม่ ถ้ามี แสดงว่า อาจมีท่อประปารั่วใต้พื้นบ้าน ซึ่งถ้าจริง จะต้องตามช่างประปามาตรวจสอบและซ่อมแซมจุดรั่วโดยอาจถึงขั้นต้องรื้อพื้นได้
เช็กท่อประปารั่วในผนัง
ให้เดินตรวจดูว่า มีจุดน้ำหยดหรือซึมเปียกที่บริเวณกำแพงหรือบริเวณพื้นที่ติดกับกำแพงหรือไม่ ถ้ามี อาจเป็นไปได้ว่าท่อประปาที่พื้นหรือผนังรั่ว ซึ่งหากท่อประปาที่ผนังเป็นแบบซ่อน อาจหาจุดรั่วซึมที่ชัดเจนเองได้ยากและต้องให้ช่างผู้ชำนาญช่วยดูแลและซ่อมแซม เพราะต้องใช้ความชำนาญและอุปกรณ์ช่วย
เช็กท่อประปารั่วในเพดาน
มีขั้นตอนดังนี้
1. เปิดช่องเซอร์วิสหรือช่องที่สำหรับเปิดเข้าไปในเพดาน แต่ถ้าเป็นบ้านเก่า อาจไม่มีช่องนี้ จะต้องให้ช่างประปารื้อฝ้าเพดานออก เพื่อตรวจหาจุดที่น้ำประปารั่ว
2. ตรวจสอบจุดท่อประปารั่วตามข้อต่อและสายท่อได้ไม่ยาก เพียงนำทิชชู่ไปพันบริเวณที่คาดว่าจะเป็นจุดรั่ว ซึ่งมักเป็นบริเวณข้อต่อ และลองใช้น้ำ เช่น เปิดฝักบัว เปิดก๊อกน้ำ หรือกดชักโครก แล้วปล่อยไว้ 15-30 นาที ถ้ามีน้ำรั่วซึม ทิชชู่ก็จะเปียก
การตรวจสอบการรั่วไหลเป็นไปได้ง่ายหากวางท่อประปาแบบเดินลอย คือ วางบนพื้นดิน อย่างไรก็ตาม บ้านส่วนใหญ่นิยมซ่อนท่อประปาไว้ในผนังและพื้นดินเพื่อความสวยงาม จึงไม่ง่ายต่อการตรวจสอบและซ่อมแซม แต่เราก็สามารถตรวจสอบหาจุดน้ำรั่วเบื้องต้นเองได้ไม่ยาก
โดยดูแปลนการวางท่อน้ำประปา แล้วเช็กตามตำแหน่งจุดวางท่อ ข้อต่อ และวาล์ว สำหรับใครที่กำลังจะซื้อบ้านใหม่หรือรีโนเวทบ้าน มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ การเลือกซื้อบ้าน และการปรับปรุงบ้านเพื่อบ้านที่น่าอยู่และห่างไกลปัญหาน้ำรั่ว
อ้างอิงเนื้อหาจาก https://www.sanook.com/home/23935/
แชร์ไอเดีย ติดตั้งปั๊มน้ำแบบแขวน ทำง่าย ประหยัดพื้นที่ ปลอดภัยจากไฟดูดและไฟรั่ว
ปั้มน้ำ เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ และจำเป็นอย่างหนึ่งของบ้าน ซึ่งช่วยให้ระบบน้ำภายในบ้านสามารถอำนวยความสะดวกแก่ผู้อยู่อาศัยได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการ แต่บางครั้งการติดตั้ง หรือจัดวางตำแหน่งปั้มน้ำก็อาจจะมีปัญหากวนใจบ้าง เช่น ปัญหาน้ำท่วม ซึ่งอาจจะสร้างความเสียหายกับตัวปั้มได้
วันนี้ ในบ้าน จึงจะพาเพื่อนๆ ชาวเว็บไป ไอเดียติดตั้งปั๊มน้ำแบบแขวนในบ้านแบบทาวน์โฮมสำหรับคนที่มีพื้นที่บ้านขนาดเล็ก ด้วยการยกปั้มน้ำขึ้นสูง เพื่อความปลอดภัยของเครื่อง และผู้อยู่อาศัย โดยเป็นไอเดียจากคุณโจรริมคลอง ลองไปชมกันได้เลยครับ
เนื่องจากมีพื้นที่อันน้อยนิดอยู่หลังบ้าน ประมาณ 2 x 1.5 เมตร ปกติจะเอาไว้เป็นลานซะล้าง ซักผ้าหลังบ้าน ถ้าติดตั้งปั๊มแบบปกติเหมือนหลังอื่นๆ พื้นที่ตรงนี้ก็คงจะหมดไป อีกทั้งเสียงเรื่อง น้ำขัง น้ำล้นเวลาฝนตกหนัก ไฟดูด ไปรั่ว เลยมีแนวคิดติดตั้งแบบแขวน ได้ออกมาดังรูป
เลือกใช้ปั๊มแบบ 150W ใช้เฉพาะชั้นสอง ติดตั้งสูงประมาณ 2.50 เมตร เจาะกำแพง วางสายไฟใหม่ ยกสูงขึ้น
ค่าใช้จ่ายทั้งหมดอาจจะแพงนิดนึ่ง แต่พอใจเมื่อผลงานออกมาแล้วตรงกับวัตถุประสงค์
ค่าใช้จ่ายทั้งหมด
– ปั๊มน้ำ 150W = 5,5xx บาท
– แทงก์น้ำ 200 ลิตร = 2,500 บาท
– ค่าอุปกรณ์ทั้งหมด ท่อ เหล็ก ข้อต่อต่างๆ = 1,500 บาท
– ค่าแรง = 2,500
รวมทั้งหมด 12,000 บาท
22 ก.พ. 2567
วันนี้ ในบ้าน จึงจะพาเพื่อนๆ ชาวเว็บไป ไอเดียติดตั้งปั๊มน้ำแบบแขวนในบ้านแบบทาวน์โฮมสำหรับคนที่มีพื้นที่บ้านขนาดเล็ก ด้วยการยกปั้มน้ำขึ้นสูง เพื่อความปลอดภัยของเครื่อง และผู้อยู่อาศัย โดยเป็นไอเดียจากคุณโจรริมคลอง ลองไปชมกันได้เลยครับ
เนื่องจากมีพื้นที่อันน้อยนิดอยู่หลังบ้าน ประมาณ 2 x 1.5 เมตร ปกติจะเอาไว้เป็นลานซะล้าง ซักผ้าหลังบ้าน ถ้าติดตั้งปั๊มแบบปกติเหมือนหลังอื่นๆ พื้นที่ตรงนี้ก็คงจะหมดไป อีกทั้งเสียงเรื่อง น้ำขัง น้ำล้นเวลาฝนตกหนัก ไฟดูด ไปรั่ว เลยมีแนวคิดติดตั้งแบบแขวน ได้ออกมาดังรูป
เลือกใช้ปั๊มแบบ 150W ใช้เฉพาะชั้นสอง ติดตั้งสูงประมาณ 2.50 เมตร เจาะกำแพง วางสายไฟใหม่ ยกสูงขึ้น
ค่าใช้จ่ายทั้งหมดอาจจะแพงนิดนึ่ง แต่พอใจเมื่อผลงานออกมาแล้วตรงกับวัตถุประสงค์
ค่าใช้จ่ายทั้งหมด
– ปั๊มน้ำ 150W = 5,5xx บาท
– แทงก์น้ำ 200 ลิตร = 2,500 บาท
– ค่าอุปกรณ์ทั้งหมด ท่อ เหล็ก ข้อต่อต่างๆ = 1,500 บาท
– ค่าแรง = 2,500
รวมทั้งหมด 12,000 บาท
แก้ปัญหาที่ต้นตอ เลือกปั๊มน้ำอย่างไรให้น้ำไหลแรง อาบเพลิน
อากาศร้อนๆ แบบนี้เวลาอาบน้ำถือเป็นช่วงเวลาแห่งความสุข แต่จะรู้สึกหมดอารมณ์ทันทีเมื่อเปิดก๊อกน้ำแล้วน้ำไหลเอื่อย แทนที่จะไหลแรงซู่ ทำให้เย็นชื่นใจ นั่นอาจมีปัญหามาจากแรงดันน้ำที่เกิดจากการเปิดใช้งานพร้อมๆ กัน “ปั๊มน้ำ” จึงเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ไฟฟ้าสำคัญที่ทุกบ้านต้องมี แต่นั่นแหละจะเลือกปั๊มน้ำอย่างไรให้เหมาะสมกับตัวบ้าน
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักปั๊มน้ำกันก่อนว่ามีกี่แบบและแต่ละแบบทำงานต่างกันอย่างไรบ้าง
ปั๊มน้ำอัตโนมัติ แบบมีถังแรงดัน ควบคุมการทำงานด้วย สวิทซ์แรงดัน (Pressure Switch) ปั๊มจะทำงานเมื่อแรงดันในถังแรงดันต่ำกว่าที่ตั้งไว้ และหยุดเมื่อแรงดันสูงถึงกำหนด
ปั๊มน้ำอัตโนมัติ แบบแรงดันคงที่ ควบคุมการทำงานด้วย สวิทซ์แรงดัน (Pressure Switch) และสวิทซ์ตรวจจับการไหลของน้ำ (Flow Switch) โดยปั๊มจะทำงานตลอดเวลาที่เปิดน้ำ และจะหยุดเมื่อปิดน้ำ ไม่มีอาการน้ำไหลแรง-เบา ขณะเปิดน้ำ
ปั๊มน้ำอัตโนมัติ แบบอินเวอร์ทเตอร์ ควบคุมการทำงานด้วย อินเวอร์ทเตอร์ (Inverter) ปั๊มทำงานตลอดเวลาที่เปิดน้ำ และปั๊มจะพยายามทำงานให้น้ำไหลแรงเท่ากัน คือเมื่อเปิดก๊อกจำนวนมากขึ้น ปั๊มจะหมุนเร็วขึ้น ให้ปั๊มจ่ายน้ำได้มากขึ้น แต่ก็หมุนเร็วขึ้นได้ค่าหนึ่งเท่านั้น
ปั๊มน้ำธรรมดา ควบคุมการทำงานด้วยสวิทซ์ลูกลอย ใช้สูบน้ำขึ้นถังพักน้ำ เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ หรือเก็บน้ำบนอาคาร ฉะนั้นก่อนเลือกปั๊มน้ำ ควรศึกษา และเปรียบเทียบหลักการทำงานต่างๆ ให้เข้ากับลักษณะการใช้งานเป็นสำคัญ
สำหรับหลักการเลือกใช้ปั๊มน้ำนั้นแนะนำให้เลือกปั๊มน้ำโดยคำนวณจากจำนวนผู้อยู่อาศัยเป็นหลัก เช่นทาวเฮาส์ 2 ชั้น จะมีแค่ 2-3 ห้องน้ำ เลือกใช้ปั๊มขนาด 100-150 วัตต์ก็พอ หรือถ้าไม่มีเครื่องทำน้ำอุ่น เลือกใช้แค่ 100 วัตต์ เราก็สามารถเปิดน้ำพร้อมกันได้ 2-3 จุด
แต่ถ้าใช้เครื่องทำน้ำอุ่น ควรเพิ่มเป็น 150 วัตต์ เพราะจะช่วยเพิ่มแรงดันน้ำอุ่นหรือเมื่อเราเปิดก๊อกน้ำหลายจุดพร้อมกัน แล้วถ้าเป็นบ้านเดี่ยวแนะนำให้ใช้ปั๊มขนาด 200–250 วัตต์ เพราะจะเปิดพร้อมกันได้ถึง 5-6 จุด หรือถ้าติดเครื่องทำน้ำอุ่นถึง 3 ห้องน้ำ ขอแนะนำให้ใช้แบบ 250 วัตต์ เพราะจะดีตรงที่ช่วยประหยัดไฟ การติดตั้งปั๊มน้ำก็มีส่วนสำคัญ ไม่แนะนำให้ติดตั้งแบบดึงตรง (by pass) แนะนำให้ต่อกับแท็งก์น้ำ (ติดตั้งแท็งก์น้ำเพิ่ม) แล้วให้ปั๊มดึงน้ำจากแท็งก์เข้าบ้าน
ปัจจุบันมีปั๊มน้ำอัตโนมัตินวัตกรรมใหม่ที่เป็นปั๊มอัตโนมัติและบูสเตอร์ในตัวทั้งกะทัดรัด ติดตั้งง่าย ไร้เสียงรบกวน เพราะสูบและส่งน้ำด้วยระบบหลายใบพัดที่ช่วยให้การทำงานเงียบสนิท ทั้งยังมีแรงดันคงที่ น้ำไหลแรงเท่ากันทุกก๊อก เพราะภายในมีถุง Diaphragm คอยกักเก็บควบคุมน้ำพร้อมสวิทช์ที่ช่วยควบคุม นอกจากนี้ยังมี ถังควบคุมแรงดันแสตนเลสเกรดเอ ปลอดสนิม คงทน ประหยัดไฟ และปลอดภัยสูงสุด มีทั้งระบบตัดน้ำเต็ม-น้ำแห้ง และระบบป้องกันอื่นๆ เพื่อเป็นทางเลือกใหม่สำหรับบ้านเรือนและอาคาร
อ้างอิงเนื้อหาจาก https://www.sanook.com/home/12577/
22 ก.พ. 2567
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักปั๊มน้ำกันก่อนว่ามีกี่แบบและแต่ละแบบทำงานต่างกันอย่างไรบ้าง
ปั๊มน้ำอัตโนมัติ แบบมีถังแรงดัน ควบคุมการทำงานด้วย สวิทซ์แรงดัน (Pressure Switch) ปั๊มจะทำงานเมื่อแรงดันในถังแรงดันต่ำกว่าที่ตั้งไว้ และหยุดเมื่อแรงดันสูงถึงกำหนด
ปั๊มน้ำอัตโนมัติ แบบแรงดันคงที่ ควบคุมการทำงานด้วย สวิทซ์แรงดัน (Pressure Switch) และสวิทซ์ตรวจจับการไหลของน้ำ (Flow Switch) โดยปั๊มจะทำงานตลอดเวลาที่เปิดน้ำ และจะหยุดเมื่อปิดน้ำ ไม่มีอาการน้ำไหลแรง-เบา ขณะเปิดน้ำ
ปั๊มน้ำอัตโนมัติ แบบอินเวอร์ทเตอร์ ควบคุมการทำงานด้วย อินเวอร์ทเตอร์ (Inverter) ปั๊มทำงานตลอดเวลาที่เปิดน้ำ และปั๊มจะพยายามทำงานให้น้ำไหลแรงเท่ากัน คือเมื่อเปิดก๊อกจำนวนมากขึ้น ปั๊มจะหมุนเร็วขึ้น ให้ปั๊มจ่ายน้ำได้มากขึ้น แต่ก็หมุนเร็วขึ้นได้ค่าหนึ่งเท่านั้น
ปั๊มน้ำธรรมดา ควบคุมการทำงานด้วยสวิทซ์ลูกลอย ใช้สูบน้ำขึ้นถังพักน้ำ เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ หรือเก็บน้ำบนอาคาร ฉะนั้นก่อนเลือกปั๊มน้ำ ควรศึกษา และเปรียบเทียบหลักการทำงานต่างๆ ให้เข้ากับลักษณะการใช้งานเป็นสำคัญ
สำหรับหลักการเลือกใช้ปั๊มน้ำนั้นแนะนำให้เลือกปั๊มน้ำโดยคำนวณจากจำนวนผู้อยู่อาศัยเป็นหลัก เช่นทาวเฮาส์ 2 ชั้น จะมีแค่ 2-3 ห้องน้ำ เลือกใช้ปั๊มขนาด 100-150 วัตต์ก็พอ หรือถ้าไม่มีเครื่องทำน้ำอุ่น เลือกใช้แค่ 100 วัตต์ เราก็สามารถเปิดน้ำพร้อมกันได้ 2-3 จุด
แต่ถ้าใช้เครื่องทำน้ำอุ่น ควรเพิ่มเป็น 150 วัตต์ เพราะจะช่วยเพิ่มแรงดันน้ำอุ่นหรือเมื่อเราเปิดก๊อกน้ำหลายจุดพร้อมกัน แล้วถ้าเป็นบ้านเดี่ยวแนะนำให้ใช้ปั๊มขนาด 200–250 วัตต์ เพราะจะเปิดพร้อมกันได้ถึง 5-6 จุด หรือถ้าติดเครื่องทำน้ำอุ่นถึง 3 ห้องน้ำ ขอแนะนำให้ใช้แบบ 250 วัตต์ เพราะจะดีตรงที่ช่วยประหยัดไฟ การติดตั้งปั๊มน้ำก็มีส่วนสำคัญ ไม่แนะนำให้ติดตั้งแบบดึงตรง (by pass) แนะนำให้ต่อกับแท็งก์น้ำ (ติดตั้งแท็งก์น้ำเพิ่ม) แล้วให้ปั๊มดึงน้ำจากแท็งก์เข้าบ้าน
ปัจจุบันมีปั๊มน้ำอัตโนมัตินวัตกรรมใหม่ที่เป็นปั๊มอัตโนมัติและบูสเตอร์ในตัวทั้งกะทัดรัด ติดตั้งง่าย ไร้เสียงรบกวน เพราะสูบและส่งน้ำด้วยระบบหลายใบพัดที่ช่วยให้การทำงานเงียบสนิท ทั้งยังมีแรงดันคงที่ น้ำไหลแรงเท่ากันทุกก๊อก เพราะภายในมีถุง Diaphragm คอยกักเก็บควบคุมน้ำพร้อมสวิทช์ที่ช่วยควบคุม นอกจากนี้ยังมี ถังควบคุมแรงดันแสตนเลสเกรดเอ ปลอดสนิม คงทน ประหยัดไฟ และปลอดภัยสูงสุด มีทั้งระบบตัดน้ำเต็ม-น้ำแห้ง และระบบป้องกันอื่นๆ เพื่อเป็นทางเลือกใหม่สำหรับบ้านเรือนและอาคาร
อ้างอิงเนื้อหาจาก https://www.sanook.com/home/12577/
ติดต่อเรา
71/2-13 โครงการโอโซนพลาซ่า ห้อง H1C,H2C ถนนคู้บอน แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงทพฯ 10230